Tag : เทคนิคNEAT
เคลียร์ข้อสงสัย “เจ็บมั้ย” ตอนปลูกผม
ปลูกผมเจ็บมั้ย? เป็นคำถามที่ทำให้หลาย ๆ คนลังเลและหวั่นใจ จนไม่กล้าเข้ามาปลูกผม นามนินจึงขอแชร์ประสบการณ์จริงฉบับใต้เตียงปลูกผมของคนไข้ ส่งตรงจากข้างในห้องทำหัตถการ มาบอกเล่าให้ฟัง เพื่อเคลียร์ทุกข้อสงสัย จบทุกความกังวลใจ และเปลี่ยนภาพจำใหม่ของการปลูกผม ซึ่งไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด

ในเมื่อถามตรง ๆ ก็ขอตอบตรง ๆ เลยว่า ระหว่างการปลูกผม จะปฏิเสธว่าไม่เจ็บเลยก็คงไม่ได้ แต่ขั้นตอนเดียวที่คนไข้อาจจะรู้สึกถึงความเจ็บ ก็คือการฉีดยาชา ซึ่งมีระดับความเจ็บเพียงเล็กน้อยถึงปานกลางเท่านั้น ขึ้นอยู่กับคนไข้แต่ละคนว่าอดทนต่อความเจ็บได้มากน้อยแค่ไหน แต่แน่นอนว่าเป็นความเจ็บในระดับที่รับได้ ไม่ต่างจากการทำฟัน การฉีดโบทอกซ์ หรือการทำศัลยกรรมความงามอื่น ๆ 


สำหรับการฉีดยาชาในขั้นตอนการปลูกผมนั้น จะฉีดทั้งหมด 2 ครั้ง

  • ครั้งที่ 1 ฉีดบริเวณท้ายทอย ก่อนเจาะย้ายกราฟต์ผมออก
  • ครั้งที่ 2 ฉีดบริเวณพื้นที่ที่ต้องการปลูกผมใหม่ ซึ่งแพทย์จะต้องนำกราฟต์ผมปลูกลงไปที่หนังศีรษะ

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนการย้ายกราฟต์ผมออก หรือการปักกราฟต์ผมใหม่ จะอยู่ในช่วงที่ยาชาออกฤทธิ์ และอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด คนไข้จึงสบายใจได้ว่า จะไม่มีความรู้สึกเจ็บแต่อย่างใด

ที่สำคัญ แพทย์ของนามนินยังมีทักษะ ประสบการณ์ และเทคนิคที่ออกแบบมาเพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บของคนไข้ได้เป็นอย่างดี และนี่คือเหตุผลว่าทำไมคนไข้จึงสามารถวางใจได้ว่า ขั้นตอนการฉีดยาชาจะเป็นไปอย่างปลอดภัยและให้ความรู้สึกเจ็บน้อยที่สุด
  • แพทย์คำนวณปริมาณยาชาและเลือกจุดฉีดยาที่เหมาะสมที่สุด เพื่อให้ยาชาออกฤทธิ์ในบริเวณที่ถูกต้อง อีกทั้งป้องกันการใช้ยาชาเกินขนาด ซึ่งอาจส่งผลข้างเคียงให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ หลังปลูกผม
  • ตลอดกระบวนการปลูกผม แพทย์จะคอยอธิบายและให้คำแนะนำ เพื่อให้คนไข้คลายความกังวลใจ
  • แพทย์ผู้ชำนาญ เป็นผู้ลงมือฉีดยาชาให้ด้วยตนเอง เช่นเดียวกับการปลูกผมใหม่ในระดับเส้นต่อเส้น ซึ่งคนไข้ต่างบอกเป็นเสียงเดียวกันว่า แพทย์ฉีดยาชาได้อย่างเบามือมาก ๆ 




นั่นจึงทำให้ความเจ็บช่วงฉีดยาชากลายเป็นเรื่องที่รับมือได้สบาย ๆ สำหรับคนไข้ของนามนิน หลายคนฝากมาบอกว่า แบบนี้ไม่เรียกว่ารู้สึกเจ็บเลยด้วยซ้ำ เพราะฉะนั้นแล้ว ใครที่กำลังกังวลใจ ก็หวังว่าจะลบภาพความน่ากลัวแบบผิด ๆ ออก และเปิดใจให้กับเทคนิคการปลูกผมยุคใหม่ที่พัฒนาก้าวหน้าขึ้น ซึ่งเมื่อบวกกับทักษะและความใส่ใจของแพทย์ ผลลัพธ์ที่ได้จึงไม่ใช่แค่เพียงผมใหม่ที่หนาแน่น ดกดำ สุขภาพแข็งแรงจากภายใน แต่ยังเป็นประสบการณ์สุดประทับใจจากการปลูกผม ที่นามนินมอบให้คนพิเศษเช่นคุณเท่านั้น



ไขข้อสงสัย! 5 ฮอร์โมน สาเหตุหลักของปัญหาผมร่วง มีอะไรบ้าง?
"รู้ทัน 5 ฮอร์โมนต้นเหตุปัญหาผมร่วงที่คุณควรรู้!"
ในทุก ๆ วันเส้นผมของเราก็มักจะหลุดร่วงเป็นปกติอยู่แล้ว โดยจะมีปริมาณประมาณ 50-100 เส้นต่อวันตามวงจรชีวิตของเส้นผม แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่อายุมากขึ้น บวกกับมีพฤติกรรมเสี่ยงที่มีส่วนทำให้รากผมอ่อนแอ วงจรชีวิตของเส้นผมก็จะสั้นลงเรื่อย ๆ และทำให้เส้นผมหลุดร่วงมากกว่าปกติ และกลายเป็นปัญหาผมบางบริเวณกว้างได้ในที่สุด


รู้หรือไม่? ว่านอกเหนือไปจากอายุที่เพิ่มขึ้น และการมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างที่เสี่ยงทำให้รากผมอ่อนแอ หลุดร่วงได้ง่ายแล้ว ก็ยังมีปัจจัยเรื่องของฮอร์โมนด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายไม่แพ้ปัจจัยอื่น ๆ เลย ซึ่งวันนี้นามนินจะขออาสาพาทุกคนมาทำความรู้จักกับฮอร์โมนของร่างกาย ที่เป็นสาเหตุของปัญหาผมร่วงกันว่ามีฮอร์โมนอะไรบ้าง? แล้วจะมีวิธีรักษาปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนเหล่านี้ได้อย่างไร? ตามมาอ่านพร้อม ๆ กันได้เลย

5 ฮอร์โมน สาเหตุของปัญหาผมร่วง

1. ฮอร์โมน DHT
ฮอร์โมนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาผมร่วง ผมบางที่ได้ยินกันบ่อยมากที่สุดเลยก็คือ ฮอร์โมน DHT หรือ ฮอร์โมน Dihydrotestosterone ซึ่งพบได้บ่อยในเพศชาย แต่ก็สามารถพบได้ในเพศหญิงเช่นเดียวกัน เพียงแต่จะมีปริมาณที่น้อยกว่าเท่านั้น 
ซึ่งฮอร์โมน DHT มีคุณสมบัติคอยควบคุมการทำงานเส้นผมและขนทั่วร่างกาย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ฮอร์โมนนี้มีความแปรปรวน หรือผิดปกติขึ้น ก็มักจะส่งผลเสียต่อเส้นผมและหนังศีรษะ โดยจะไปออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นผมชุดใหม่ ทั้งยังมีส่วนทำให้เส้นผมชุดเก่าไม่ได้รับสารอาหารที่มากพอ จึงทำให้รากผมอ่อนแอ และเกิดเป็นปัญหาผมร่วงตามมานั่นเอง  

2. ฮอร์โมนเอสโตรเจน
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) หรือฮอร์โมนเพศหญิงที่คอยช่วยดูแลระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายเพศหญิงให้เป็นไปอย่างปกติและมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ฮอร์โมนชนิดนี้มีระดับต่ำกว่าปกติ หรือมีความแปรปรวน ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ 
และหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยเนื่องจากความแปรปรวนของฮอร์โมนเอสโตรเจนก็คือปัญหาผมร่วง รากผมอ่อนแอ ทั้งยังทำให้มีลักษณะเส้นผมเล็บ ลีบ แบน ชี้ฟู จัดทรงยากร่วมด้วย ซึ่งปัญหาความผิดปกติของฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้ มักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยทอง วัยหมดประจำเดือน รวมถึงคุณแม่หลังคลอดนั่นเอง

3. ฮอร์โมนคอร์ติซอล
ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักกันดีว่าเป็นฮอร์โมนความเครียด เพราะร่างกายมักจะหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมาเมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น และฮอร์โมนตัวนี้นั้นก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากมาย โดยเฉพาะระบบการทำงานของเส้นผม โดยฮอร์โมนคอร์ติซอลจะเข้าไปทำให้วงจรชีวิตของเส้นผมสั้นลงกว่าปกติ จนเกิดเป็นปัญหาผมหลุดร่วงได้ในที่สุด

4. ฮอร์โมนไทรอยด์
ปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเพศไหน ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ก็จะทำให้ต่อมไขมันในร่างกายทำงานผิดปกติตามไปด้วย ซึ่งจะกระตุ้นร่างกายให้ผลิตไขมันออกมาบนผิวหนังมากกว่าเดิม โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ และหากมีความมันส่วนเกินเกาะอยู่ตามเส้นผมและหนังศีรษะมากก็ไป ก็อาจทำให้รากผมเกิดการอุดตัน อ่อนแอลง และสังเกตเห็นถึงผมที่ร่วงเยอะมากกว่าเดิมได้

5. ฮอร์โมนอินซูลิน
เราอาจจะคุ้นเคยกันดีว่าอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และสัมพันธ์กับผู้ป่วยเบาหวาน แต่ไม่เพียงเท่านั้นฮอร์โมนนี้ยังส่งผลเสียต่อการทำงานของรากผม และมีส่วนทำให้ผมหลุดร่วงง่ายได้เช่นกัน ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้
  • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: อินซูลินมีหน้าที่หลักในการนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน แต่หากมีระดับอินซูลินผิดปกติ ไม่ว่าจะสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ รวมถึงปัญหาผมร่วงได้
  • การไหลเวียนเลือด: ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปเป็นเวลานาน อาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ รวมถึงหนังศีรษะได้รับความเสียหาย และส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงรากผม ทำให้รากผมได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และอ่อนแอลง
  • การอักเสบ: ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งรวมถึงหนังศีรษะด้วยเช่นกัน และการอักเสบนี้ก็จะทำลายเซลล์รากผมและทำให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น

แนวทางการป้องกันและรักษาผมร่วง เนื่องจากฮอร์โมน
เมื่อผมร่วงมากกว่าที่เคย อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฮอร์โมนในร่างกายของคุณมีความผิดปกติอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งปัญหานี้จะมีวิธีป้องกันและรักษาปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนได้ ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนบางชนิดก็มีผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น ความเครียดทำให้หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากกว่าปกติ การทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ก็ล้วนส่งผลให้ฮอร์โมนอินซูลินสูงตามไปด้วย ซึ่งการปรับเปลี่ยนโดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาผมร่วง ผมบางได้


2. ใช้ยารักษาผมร่วงตามแพทย์สั่ง
หากมีปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่แพทย์จะทำการจ่ายยาในการควบคุมระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ขณะเดียวกันก็สามารถเลือกใช้ยารักษาผมร่วงเพื่อเสริมสร้างรากผมให้แข็งแรง กระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผมควบคู่ไปด้วยได้ เช่น กลุ่มยาฟีนาสเตอไรด์ หรือกลุ่มยาไมนอกซิดิล เป็นต้น

3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมแล้ว เพื่อเป็นการบำรุงสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง นามนินคลินิกขอแนะนำให้ลองเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะร่วมด้วย เช่น 
  • ELIXIR HAIR SERUM BY NEAT HAIRNUE เซรั่มสูตรพิเศษที่คิดค้นโดยคุณหมอนิน พัฒนาขึ้นเพื่อบำรุงเส้นผมให้กับคนที่มีปัญหาผมบางโดยเฉพาะ ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม พร้อมบำรุงเส้นผมให้ดกหนาและแข็งแรง
  • VITAMIN H วิตามินบำรุงผมของนามนิน ที่ผสานคุณประโยชน์จากสารสกัดธรรมชาติหลากหลายชนิด ช่วยลดความมันและการอักเสบของหนังศีรษะ ลดการหลุดร่วงของเส้นผม พร้อมเติมสารอาหารให้เส้นผม ช่วยให้ผมที่งอกใหม่มีเส้นหนาและแข็งแรงยิ่งขึ้น


4. เข้ารับบริการโปรแกรมทรีตเมนต์บำรุงรากผมให้แข็งแรง
สำหรับใครที่อยากเห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ก็สามารถเลือกเข้ารับบริการโปรแกรมทรีตเมนต์บำรุงรากผมให้แข็งแรง อย่างเช่น โปรแกรม PHB หรือ Premium Hair Booster กับที่นามนินคลินิกได้เช่นกัน ซึ่งเป็นโปรแกรมทรีตเมนต์ฉีดบำรุงทั่วหนังศีรษะสูตรพิเศษ ที่ได้รับการออกแบบมาให้ตอบโจทย์ผู้ที่มีปัญหาผมบางและหลุดร่วงง่ายโดยเฉพาะ แม้จะมีปัญหาผมร่วงจนกราฟต์ผมเหลือน้อย ไม่เพียงพอต่อการปลูกผมแล้ว วิธีนี้ก็สามารถช่วยให้คุณกลับมามีเส้นผมหนาแน่นเต็มพื้นที่ได้อีกครั้ง 



5. เข้ารับการปลูกผมถาวร
ถ้าคุณมีปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมน และเกิดปัญหาผมบางเป็นบริเวณกว้าง จนทำให้ขาดความมั่นใจเป็นอย่างมาก การปลูกผมถาวรก็ถือเป็นอีกหนึ่งแนวการดูแลรักษาปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะจบปัญหาผมบางได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการนำเส้นผมที่มีสุขภาพดีจากบริเวณท้ายทอยมาปลูกยังบริเวณที่ผมบางหรือไม่มีผม เพื่อให้ได้เส้นผมใหม่ที่แข็งแรง และเป็นธรรมชาติ กลับมามีผมดกหนาได้อีกครั้ง 




สรุป
 
ฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วงนั้นมีอยู่หลากหลายชนิด เพื่อให้การรักษาปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนเห็นผล และตรงจุดมากที่สุด นามนินคลินิกขอแนะนำว่าควรเข้าพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อรับการวินิจฉัยถึงสาเหตุของผมร่วงที่แท้จริงว่า เกิดจากฮอร์โมนชนิดใด? รวมถึงจะมีแนวทางในการรักษาปัญหาผมร่วงอย่างไรบ้าง? ที่จะเหมาะสมมากที่สุด 

เพราะปัญหาผมร่วง ผมบาง หากปล่อยไว้นาน ก็ยิ่งรักษายาก และสร้างแผลใจให้คุณมากยิ่งขึ้นในทุก ๆ วัน ดังนั้นหากรักษาเร็ว ก็มีโอกาสสูงที่จะกลับมามีผมดกหนาได้ดังเดิม แถมค่าใช้จ่ายในการรักษาก็ไม่สูงเท่ามารักษาตอนที่ปัญหาลุกลามไปแล้วนั่นเอง

แกะรอยความแตกต่าง ภาวะผมร่วงผมบางจากกรรมพันธุ์ ในผู้ชายและผู้หญิง
อาการผมร่วง ผมบาง ที่อาจนำไปสู่ภาวะศีรษะล้าน สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง โดยมีปัจจัยหลายประการที่อาจเป็นสาเหตุของอาการดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน ความเครียด การขาดสารอาหาร โรคที่เกี่ยวกับผิวหนัง การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน ผลข้างเคียงจากยาหรือผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมไปถึงสิ่งแวดล้อมหรือมลภาวะ แต่ตัวการสำคัญที่สุดที่ส่งผลต่อสุขภาพหนังศีรษะและเส้นผมของคนเรา ก็คือ “กรรมพันธุ์” ที่ส่งต่อกันมาในครอบครัว เรียกได้ว่าอาการผมร่วงและผมบางจากกรรมพันธุ์นั้น สามารถพบได้ถึงร้อยละ 90 – 95 จากสาเหตุทั้งหมดทีเดียว

อย่างไรก็ตาม มีจุดที่น่าสังเกตของอาการผมร่วงและผมบางจากกรรมพันธุ์ ที่แตกต่างกันระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย ซึ่งหากเราสังเกตพบอาการเหล่านี้ ก็จะทำให้สามารถรักษาได้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น และยิ่งสังเกตพบเร็วเท่าไหร่ ก็จะยิ่งทำให้การรักษาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้นด้วย


ลักษณะของอาการผมร่วงและผมบางจากกรรมพันธุ์ในผู้ชาย

ในความเป็นจริงแล้ว เรามักจะพบปัญหาผมร่วงและผมบางในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง เนื่องจากยีนหรือหน่วยพันธุกรรมที่ควบคุมลักษณะดังกล่าวนั้น จะแสดงลักษณะเด่นในเพศชาย และแสดงลักษณะด้อยในเพศหญิง ไม่เพียงเท่านั้น ฮอร์โมนเพศชาย หรือ เทสโทสเตอโรน (testosterone) ยังเป็นปัจจัยร่วมที่สำคัญ กล่าวคือ ผู้ชายที่ได้รับการส่งต่อลักษณะผมร่วงและผมบางทางพันธุกรรม จะมีเอนไซม์ที่ชื่อ 5-alpha reductase ในปริมาณสูงบริเวณหนังศีรษะ และเอนไซม์ตัวนี้เอง ที่เปลี่ยนฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน ให้กลายเป็นฮอร์โมนไดไฮโดรเทสโทสเตอโรน (dihydrotestosterone) หรือ DHT ซึ่งทำให้รูขุมขนบริเวณหนังศีรษะหดตัวลง จนเส้นผมที่เกิดใหม่ไม่สามารถเจริญเติบโตได้เต็มที่ และหลุดร่วงเร็วกว่าปกติ โดยเราจะพบลักษณะของอาการผมร่วงและผมบางจากกรรมพันธุ์ในผู้ชายได้ดังนี้ 

  • ผมเริ่มร่วงจากบริเวณหน้าผาก เว้าเข้าไปจนถึงกลางศีรษะ (รูปแบบ A)
  • ผมเริ่มร่วงจากบริวณกลางศีรษะ ขยายออกมารอบ ๆ จนเหลือเพียงผมบริเวณท้ายทอย มักพบได้ทั่วไปในผู้ชายส่วนใหญ่ โดยเฉพาะผู้ชายเอเชีย (รูปแบบ O)
  • ผมเริ่มร่วงจากบริเวณหน้าผากทั้งสองข้าง เว้าเข้าไปเป็นรูปตัว M สามารถพบได้ตั้งแต่อายุยังไม่มาก (รูปแบบ M)
  • ผมเริ่มร่วงจากบริเวณกลางศีรษะ และบริเวณหน้าผากทั้งสองข้างพร้อม ๆ กัน เรียกได้ว่าเป็นรูปแบบที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงและผมบางอย่างรุนแรงที่สุด (รูปแบบ O ผสมกับรูปแบบ M)
  • เป็นที่น่าสังเกตว่า ผมบริเวณเหนือกกหูทั้งสองข้าง และผมบริเวณท้ายทอย จะมีความหนาแน่นและมีขนาดเส้นผมปกติ เนื่องจากรากผมบริเวณนั้นมีความแข็งแรง และมีลักษณะพิเศษที่สามารถทนทานต่อฮอร์โมน DHT ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการผมร่วงและผมบางได้มากกว่าปกติ
  • อาจมีอาการหนังศีรษะอักเสบเป็นจุดแดงบริเวณรอบรูขุมขน
  • มีลักษณะหนวดเคราดก และผิวหน้ามันร่วมด้วย เนื่องจากมีปริมาณฮอร์โมนเทสโทสเตอโรนสูง
  • ไม่จำเป็นต้องมีประวัติของอาการผมร่วงและผมบางในรุ่นพ่อกับแม่ เนื่องจากขึ้นอยู่กับการแสดงออกของยีน ที่อาจแสดงออกข้ามรุ่นได้




ลักษณะของอาการผมร่วงและผมบางจากกรรมพันธุ์ในผู้หญิง

  • จุดแตกต่างที่สำคัญคือ ผลจากกรรมพันธุ์ไม่ได้มีผลต่อการร่นของแนวผมบริเวณหน้าผากของผู้หญิง หรือมีผลน้อยมาก (ดังนั้น หากคุณพบปัญหาผมร่วงและผมบางบริเวณหน้าผาก อาจเกิดจากสาเหตุอื่น ๆ ก็เป็นได้ เช่น การมัดผมแน่น ๆ เป็นเวลานาน การเสียสมดุลของฮอร์โมนเอนโดรเจนในผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิด เข้าสู่วัยหมดประจำเดือน ตั้งครรภ์ หรือหลังคลอดบุตร ตลอดจนปัญหาสุขภาพ อย่างเช่นโรคเบาหวาน หรือโรคไทรอยด์ เป็นต้น)
  • จุดที่น่าสังเกตคือ ผู้หญิงจะมีผมบางลงบริเวณกลางศีรษะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตรงรอยแสกผมที่จะค่อย ๆ ขยายกว้างขึ้นเรื่อย ๆ เช่นเดียวกับเส้นผมบริเวณนั้นก็จะมีขนาดเล็กและอ่อนแอลงด้วย ในที่นี้อาจแบ่งความรุนแรงออกได้เป็น 3 ระดับ ตั้งแต่ระดับเริ่มต้น ระดับกลาง ไปจนถึงระดับรุนแรง ซึ่งบริเวณที่ผมร่วงและผมบางจะขยายไปทางด้านข้างเป็นวงกว้าง
  • ในขณะที่ผู้ชายจะยังคงมีผมบริเวณเหนือกกหูทั้งสองข้างและบริเวณท้ายทอยที่หนาแน่นและแข็งแรง ตรงกันข้าม ผมของผู้หญิงในบริเวณดังกล่าวอาจมีความหนาแน่นลดลง หรือมีขนาดของเส้นผมเล็กลงได้ แต่ไม่รุนแรงเท่าบริเวณกลางศีรษะ
  • ผู้หญิงจะมีความรุนแรงของอาการผมร่วงและผมบางจากพันธุกรรมน้อยกว่าผู้ชาย ไม่ถึงขั้นนำไปสู่ภาวะผมล้าน
  • อาจมีอาการหนังศีรษะอักเสบเป็นจุดแดงบริเวณรอบรูขุมขน
  • ไม่จำเป็นต้องมีประวัติของอาการผมร่วงและผมบางในรุ่นพ่อกับแม่ เนื่องจากขึ้นอยู่กับการแสดงออกของยีน ที่อาจแสดงออกข้ามรุ่นได้
  • อาจมีประวัติความผิดปกติของรอบเดือนในอดีตร่วมด้วย เช่น ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ
  • ลักษณะผมร่วงและผมบางจากกรรมพันธุ์ในผู้หญิง จะยิ่งแสดงเด่นชัดขึ้นเมื่อเข้าสู่วัยหมดรอบเดือน



หากสันนิษฐานได้ว่า อาการผมร่วงและผมบางของเราน่าจะมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ สามารถขอรับคำปรึกษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ และเข้ารับการรักษาด้วยการปลูกผมแบบถาวรได้ทั้งผู้หญิงและผู้ชาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในปัจจุบัน มีการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ ในการรักษา ที่ใช้เครื่องมือขนาดเล็ก ลดอาการเจ็บและอาการบวมช้ำหลังการรักษา ลดระยะเวลาในการพักฟื้นเนื่องจากเหลือเพียงแผลขนาดเล็กที่ซ่อนอยู่ด้านหลังเส้นผม ทำให้สามารถออกไปใช้ชีวิตประจำวันเป็นปกติได้ทันที ทั้งยังให้ผลลัพธ์เส้นผมใหม่ที่หนาแน่น แข็งแรง และกลมกลืนไปกับเส้นผมเดิมอย่างเป็นธรรมชาติ