Tag : Premium Hair Booster
ไขข้อสงสัย! 5 ฮอร์โมน สาเหตุหลักของปัญหาผมร่วง มีอะไรบ้าง?
"รู้ทัน 5 ฮอร์โมนต้นเหตุปัญหาผมร่วงที่คุณควรรู้!"
ในทุก ๆ วันเส้นผมของเราก็มักจะหลุดร่วงเป็นปกติอยู่แล้ว โดยจะมีปริมาณประมาณ 50-100 เส้นต่อวันตามวงจรชีวิตของเส้นผม แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่อายุมากขึ้น บวกกับมีพฤติกรรมเสี่ยงที่มีส่วนทำให้รากผมอ่อนแอ วงจรชีวิตของเส้นผมก็จะสั้นลงเรื่อย ๆ และทำให้เส้นผมหลุดร่วงมากกว่าปกติ และกลายเป็นปัญหาผมบางบริเวณกว้างได้ในที่สุด


รู้หรือไม่? ว่านอกเหนือไปจากอายุที่เพิ่มขึ้น และการมีพฤติกรรมการใช้ชีวิตบางอย่างที่เสี่ยงทำให้รากผมอ่อนแอ หลุดร่วงได้ง่ายแล้ว ก็ยังมีปัจจัยเรื่องของฮอร์โมนด้วยเช่นกัน ซึ่งถือเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายไม่แพ้ปัจจัยอื่น ๆ เลย ซึ่งวันนี้นามนินจะขออาสาพาทุกคนมาทำความรู้จักกับฮอร์โมนของร่างกาย ที่เป็นสาเหตุของปัญหาผมร่วงกันว่ามีฮอร์โมนอะไรบ้าง? แล้วจะมีวิธีรักษาปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนเหล่านี้ได้อย่างไร? ตามมาอ่านพร้อม ๆ กันได้เลย

5 ฮอร์โมน สาเหตุของปัญหาผมร่วง

1. ฮอร์โมน DHT
ฮอร์โมนที่ขึ้นชื่อว่าเป็นสาเหตุหลักของปัญหาผมร่วง ผมบางที่ได้ยินกันบ่อยมากที่สุดเลยก็คือ ฮอร์โมน DHT หรือ ฮอร์โมน Dihydrotestosterone ซึ่งพบได้บ่อยในเพศชาย แต่ก็สามารถพบได้ในเพศหญิงเช่นเดียวกัน เพียงแต่จะมีปริมาณที่น้อยกว่าเท่านั้น 
ซึ่งฮอร์โมน DHT มีคุณสมบัติคอยควบคุมการทำงานเส้นผมและขนทั่วร่างกาย แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ฮอร์โมนนี้มีความแปรปรวน หรือผิดปกติขึ้น ก็มักจะส่งผลเสียต่อเส้นผมและหนังศีรษะ โดยจะไปออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเส้นผมชุดใหม่ ทั้งยังมีส่วนทำให้เส้นผมชุดเก่าไม่ได้รับสารอาหารที่มากพอ จึงทำให้รากผมอ่อนแอ และเกิดเป็นปัญหาผมร่วงตามมานั่นเอง  

2. ฮอร์โมนเอสโตรเจน
ฮอร์โมนเอสโตรเจน (Estrogen) หรือฮอร์โมนเพศหญิงที่คอยช่วยดูแลระบบการทำงานต่าง ๆ ของร่างกายเพศหญิงให้เป็นไปอย่างปกติและมีประสิทธิภาพ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่ฮอร์โมนชนิดนี้มีระดับต่ำกว่าปกติ หรือมีความแปรปรวน ก็จะส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้ 
และหนึ่งในปัญหาที่พบได้บ่อยเนื่องจากความแปรปรวนของฮอร์โมนเอสโตรเจนก็คือปัญหาผมร่วง รากผมอ่อนแอ ทั้งยังทำให้มีลักษณะเส้นผมเล็บ ลีบ แบน ชี้ฟู จัดทรงยากร่วมด้วย ซึ่งปัญหาความผิดปกติของฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้ มักจะพบได้บ่อยในผู้หญิงวัยทอง วัยหมดประจำเดือน รวมถึงคุณแม่หลังคลอดนั่นเอง

3. ฮอร์โมนคอร์ติซอล
ฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) หรือที่หลาย ๆ คนรู้จักกันดีว่าเป็นฮอร์โมนความเครียด เพราะร่างกายมักจะหลั่งฮอร์โมนนี้ออกมาเมื่อมีความเครียดเกิดขึ้น และฮอร์โมนตัวนี้นั้นก็ส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายมากมาย โดยเฉพาะระบบการทำงานของเส้นผม โดยฮอร์โมนคอร์ติซอลจะเข้าไปทำให้วงจรชีวิตของเส้นผมสั้นลงกว่าปกติ จนเกิดเป็นปัญหาผมหลุดร่วงได้ในที่สุด

4. ฮอร์โมนไทรอยด์
ปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนไทรอยด์ สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ไม่ว่าจะเพศไหน ๆ เพราะเมื่อไหร่ที่ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ ก็จะทำให้ต่อมไขมันในร่างกายทำงานผิดปกติตามไปด้วย ซึ่งจะกระตุ้นร่างกายให้ผลิตไขมันออกมาบนผิวหนังมากกว่าเดิม โดยเฉพาะบริเวณหนังศีรษะ และหากมีความมันส่วนเกินเกาะอยู่ตามเส้นผมและหนังศีรษะมากก็ไป ก็อาจทำให้รากผมเกิดการอุดตัน อ่อนแอลง และสังเกตเห็นถึงผมที่ร่วงเยอะมากกว่าเดิมได้

5. ฮอร์โมนอินซูลิน
เราอาจจะคุ้นเคยกันดีว่าอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด และสัมพันธ์กับผู้ป่วยเบาหวาน แต่ไม่เพียงเท่านั้นฮอร์โมนนี้ยังส่งผลเสียต่อการทำงานของรากผม และมีส่วนทำให้ผมหลุดร่วงง่ายได้เช่นกัน ด้วยเหตุผลต่าง ๆ ดังนี้
  • การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด: อินซูลินมีหน้าที่หลักในการนำน้ำตาลกลูโคสเข้าสู่เซลล์เพื่อใช้เป็นพลังงาน แต่หากมีระดับอินซูลินผิดปกติ ไม่ว่าจะสูงเกินไปหรือต่ำเกินไป จะส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดไม่คงที่ ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ รวมถึงปัญหาผมร่วงได้
  • การไหลเวียนเลือด: ระดับน้ำตาลในเลือดที่สูงเกินไปเป็นเวลานาน อาจทำให้อวัยวะต่าง ๆ รวมถึงหนังศีรษะได้รับความเสียหาย และส่งผลต่อการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงรากผม ทำให้รากผมได้รับสารอาหารไม่เพียงพอ และอ่อนแอลง
  • การอักเสบ: ภาวะน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรังอาจกระตุ้นให้เกิดการอักเสบในร่างกาย ซึ่งรวมถึงหนังศีรษะด้วยเช่นกัน และการอักเสบนี้ก็จะทำลายเซลล์รากผมและทำให้ผมหลุดร่วงได้ง่ายขึ้น

แนวทางการป้องกันและรักษาผมร่วง เนื่องจากฮอร์โมน
เมื่อผมร่วงมากกว่าที่เคย อาจเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าฮอร์โมนในร่างกายของคุณมีความผิดปกติอยู่ก็เป็นได้ ซึ่งปัญหานี้จะมีวิธีป้องกันและรักษาปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนได้ ดังนี้

1. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต
การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนบางชนิดก็มีผลมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตประจำวันที่ไม่เหมาะสม เช่น ความเครียดทำให้หลั่งฮอร์โมนคอร์ติซอลมากกว่าปกติ การทานอาหารที่มีปริมาณน้ำตาลสูง ก็ล้วนส่งผลให้ฮอร์โมนอินซูลินสูงตามไปด้วย ซึ่งการปรับเปลี่ยนโดยหลีกเลี่ยงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเหล่านี้ ก็จะช่วยบรรเทาปัญหาผมร่วง ผมบางได้


2. ใช้ยารักษาผมร่วงตามแพทย์สั่ง
หากมีปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนและได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์อย่างเหมาะสม ส่วนใหญ่แพทย์จะทำการจ่ายยาในการควบคุมระดับฮอร์โมนให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ขณะเดียวกันก็สามารถเลือกใช้ยารักษาผมร่วงเพื่อเสริมสร้างรากผมให้แข็งแรง กระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผมควบคู่ไปด้วยได้ เช่น กลุ่มยาฟีนาสเตอไรด์ หรือกลุ่มยาไมนอกซิดิล เป็นต้น

3. เลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะ
นอกจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวันให้เหมาะสมแล้ว เพื่อเป็นการบำรุงสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะอย่างต่อเนื่อง นามนินคลินิกขอแนะนำให้ลองเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ดูแลสุขภาพเส้นผมและหนังศีรษะร่วมด้วย เช่น 
  • ELIXIR HAIR SERUM BY NEAT HAIRNUE เซรั่มสูตรพิเศษที่คิดค้นโดยคุณหมอนิน พัฒนาขึ้นเพื่อบำรุงเส้นผมให้กับคนที่มีปัญหาผมบางโดยเฉพาะ ช่วยลดการหลุดร่วงของเส้นผม พร้อมบำรุงเส้นผมให้ดกหนาและแข็งแรง
  • VITAMIN H วิตามินบำรุงผมของนามนิน ที่ผสานคุณประโยชน์จากสารสกัดธรรมชาติหลากหลายชนิด ช่วยลดความมันและการอักเสบของหนังศีรษะ ลดการหลุดร่วงของเส้นผม พร้อมเติมสารอาหารให้เส้นผม ช่วยให้ผมที่งอกใหม่มีเส้นหนาและแข็งแรงยิ่งขึ้น


4. เข้ารับบริการโปรแกรมทรีตเมนต์บำรุงรากผมให้แข็งแรง
สำหรับใครที่อยากเห็นผลลัพธ์ที่รวดเร็วยิ่งขึ้น ก็สามารถเลือกเข้ารับบริการโปรแกรมทรีตเมนต์บำรุงรากผมให้แข็งแรง อย่างเช่น โปรแกรม PHB หรือ Premium Hair Booster กับที่นามนินคลินิกได้เช่นกัน ซึ่งเป็นโปรแกรมทรีตเมนต์ฉีดบำรุงทั่วหนังศีรษะสูตรพิเศษ ที่ได้รับการออกแบบมาให้ตอบโจทย์ผู้ที่มีปัญหาผมบางและหลุดร่วงง่ายโดยเฉพาะ แม้จะมีปัญหาผมร่วงจนกราฟต์ผมเหลือน้อย ไม่เพียงพอต่อการปลูกผมแล้ว วิธีนี้ก็สามารถช่วยให้คุณกลับมามีเส้นผมหนาแน่นเต็มพื้นที่ได้อีกครั้ง 



5. เข้ารับการปลูกผมถาวร
ถ้าคุณมีปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมน และเกิดปัญหาผมบางเป็นบริเวณกว้าง จนทำให้ขาดความมั่นใจเป็นอย่างมาก การปลูกผมถาวรก็ถือเป็นอีกหนึ่งแนวการดูแลรักษาปัญหาผมร่วงจากฮอร์โมนที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะจบปัญหาผมบางได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยอาศัยการนำเส้นผมที่มีสุขภาพดีจากบริเวณท้ายทอยมาปลูกยังบริเวณที่ผมบางหรือไม่มีผม เพื่อให้ได้เส้นผมใหม่ที่แข็งแรง และเป็นธรรมชาติ กลับมามีผมดกหนาได้อีกครั้ง 




สรุป
 
ฮอร์โมนที่ทำให้ผมร่วงนั้นมีอยู่หลากหลายชนิด เพื่อให้การรักษาปัญหาผมร่วงเนื่องจากฮอร์โมนเห็นผล และตรงจุดมากที่สุด นามนินคลินิกขอแนะนำว่าควรเข้าพบแพทย์ผู้ชำนาญการเพื่อรับการวินิจฉัยถึงสาเหตุของผมร่วงที่แท้จริงว่า เกิดจากฮอร์โมนชนิดใด? รวมถึงจะมีแนวทางในการรักษาปัญหาผมร่วงอย่างไรบ้าง? ที่จะเหมาะสมมากที่สุด 

เพราะปัญหาผมร่วง ผมบาง หากปล่อยไว้นาน ก็ยิ่งรักษายาก และสร้างแผลใจให้คุณมากยิ่งขึ้นในทุก ๆ วัน ดังนั้นหากรักษาเร็ว ก็มีโอกาสสูงที่จะกลับมามีผมดกหนาได้ดังเดิม แถมค่าใช้จ่ายในการรักษาก็ไม่สูงเท่ามารักษาตอนที่ปัญหาลุกลามไปแล้วนั่นเอง