โลกของคุณแม่มือใหม่ ไม่ได้สวยงามชวนฝันเหมือนในละครโทรทัศน์ ไหนจะต้องรับบทบาทคุณแม่ดูแลเจ้าตัวเล็ก 24 ชั่วโมง อดหลับอดนอน รับมือกับความเครียดสารพัดเรื่อง คุณแม่หลายคนยังต้องกังวลกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายและจิตใจ ต้องพยายามดูแลตัวเองทั้งที่ในแต่ละวันก็แทบไม่มีเวลา ทั้งยังต้องมาเจอกับปัญหาอย่างเช่น “ภาวะผมร่วงหลังคลอด” ที่ทำเอาคุณแม่หลายคนเสียขวัญเพราะผมร่วงในแต่ละวันเป็นร้อย ๆ เส้น!! จนเกิดคำถามมากมายว่าร่างกายมีอะไรผิดปกติเกิดขึ้นหรือเปล่า ผมจะร่วงแบบนี้ไปอีกนานแค่ไหน มีวิธีช่วยหยุดอาการผมร่วงได้หรือไม่
...คำตอบอยู่ในอีกไม่กี่บรรทัดข้างล่างนี้แล้ว มาทำความเข้าใจภาวะผมร่วงหลังคลอดของเหล่าคุณแม่มือใหม่ไปพร้อม ๆ กันเลย...
ผมร่วงหลังคลอด ...ผิดปกติหรือไม่...
ภาวะผมร่วงหลังคลอด ไม่ใช่อาการผิดปกติ หรืออาจเป็นอันตรายแต่อย่างใด ตามสถิติแล้ว จะมีคุณแม่ถึงประมาณร้อยละ 50 ที่ต้องเผชิญกับอาการผมร่วงหลังคลอด และผมที่ร่วงเป็นหลักร้อยเส้นนั้น ก็เรียกได้ว่าเป็นแค่ปริมาณส่วนน้อยเพียงร้อยละ 5-15 ของเส้นผมทั้งหมดบนหนังศีรษะเท่านั้นเอง และโดยปกติผมของคนเราก็อาจร่วงได้ถึง 100 เส้นต่อวันอยู่แล้ว จึงไม่จำเป็นต้องกังวลใจมากจนเกินไป
คุณแม่มือใหม่ ...ทำไมจึงผมร่วง...
นอกจากปัจจัยอย่างเช่นความเครียด ความกังวลในเรื่องต่าง ๆ รวมถึงการรับประทานอาหารที่ไม่สมดุลแล้ว สาเหตุหลักของภาวะผมร่วงหลังคลอด ก็คือการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเอสโตรเจนภายในร่างกายของคุณแม่นั่นเอง ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เพื่อให้เข้าใจและเห็นภาพมากขึ้น มาทำความรู้จักกับวงจรชีวิตของเส้นผมกันก่อน ประกอบไปด้วย 3 ระยะ ได้แก่
- ระยะงอกของเส้นผม (Anagenic Phase)
- ระยะพักของเส้นผม (Catagen Phase)
- ระยะเตรียมหลุดร่วง (Telogen Phase)
เมื่อคุณแม่เริ่มตั้งครรภ์ ร่างกายจะสร้างฮอร์โมนเอสโตรเจนในระดับสูงขึ้น และสร้างออกมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานาน ซึ่งเจ้าฮอร์โมนเอสโตรเจนนี้เอง จะไปกระตุ้นให้เส้นผมเกือบทั้งศีรษะเข้าสู่ระยะเจริญเติบโตพร้อม ๆ กัน มีเพียงส่วนน้อยมาก ๆ ที่อยู่ในระยะพัก (Catagen Phase) และเตรียมหลุดร่วง ผลที่ตามมาก็คือ จากเดิมก่อนตั้งครรภ์ที่คุณแม่เคยผมร่วงตามธรรมชาติวันละ 70-100 เส้น กลายเป็นว่าพอตั้งครรภ์แล้ว ผมจะหลุดร่วงน้อยลง แลดูหนาดกดำขึ้นตลอด 9 เดือน
แต่พอคลอดแล้ว ฮอร์โมนเอสโตรเจนในร่างกายจะลดระดับลงอย่างรวดเร็ว เส้นผมจำนวนมากที่เคยอยู่ในระยะเจริญเติบโตเพราะฮอร์โมนเลี้ยงระดับไว้ จึงหยุดการเจริญเติบโตอย่างกะทันหัน พากันเข้าสู่ระยะพัก (Catagen Phase) ตามมาด้วยระยะเตรียมหลุดร่วง (Telogen Phase) ทำให้ผมร่วงพร้อม ๆ กันมากกว่าปกติ นับเป็นร้อย ๆ เส้นอย่างที่เราเห็น บางครั้งอาจร่วงมากถึง 400-500 เส้นต่อวันทีเดียว ซึ่งภาวะผมร่วงหลังคลอดนี้ มีอีกชื่อหนึ่งว่า ภาวะ Telogen Effluvium แบบเฉียบพลันนั่นเอง
นานแค่ไหน ...กว่าผมจะหยุดร่วง...
โดยเฉลี่ยแล้ว คุณแม่มือใหม่มักจะมีอาการผมร่วงหนักประมาณ 3 เดือน ซึ่งภาวะผมร่วงหลังคลอดนี้จะเริ่มปรากฏชัดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนแรกหลังคลอด และในช่วงเดือนที่ 6-12 ฮอร์โมนเอสโตรเจนจะค่อย ๆ ปรับเข้าสู่ระดับปกติ ภาวะ Telogen Effluvium จะค่อย ๆ หายไป จนกระทั่งผมเริ่มหยุดร่วงมากผิดปกติในที่สุด ดังนั้น หลังคลอดไปแล้ว 1 ปีถึง 1 ปีครึ่ง เส้นผมของคุณแม่ก็จะกลับมาหนาแน่นเหมือนเดิม
ชวนคุณแม่ ...ดูแลเส้นผมหลังคลอด...
แม้ว่าอาการผมร่วงหลังคลอดจะอยู่กับคุณแม่เพียงแค่ชั่วคราว แต่ระหว่างที่ผมร่วงเยอะ ๆ นั้นก็คงจะทำให้คุณแม่จิตตกและเครียดกังวลอยู่ไม่น้อย แม้ว่าเราจะหยุดอาการผมร่วงไม่ได้ แต่ก็ยังมีอีกหลาย ๆ วิธีที่จะช่วยฟื้นฟูดูแลสุขภาพผม รวมถึงมีข้อแนะนำเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อป้องกันไม่ให้สุขภาพผมของคุณแม่อ่อนแอลงไปกว่าเดิม
- เริ่มจากขั้นตอนการสระเพื่อทำความสะอาดเส้นผม แนะนำให้เลือกใช้แชมพูที่มีความอ่อนโยน ไม่ระคายเคือง และสามารถนวดหนังศีรษะเบา ๆ ระหว่างสระผม เพื่อกระตุ้นให้เลือดมาเลี้ยงรากผมได้ดีขึ้น
- เสริมด้วยการใช้ครีมนวดบำรุงเส้นผมตั้งแต่ช่วงกลางผมถึงปลายผม เพื่อให้เส้นผมเงางาม มีน้ำหนัก แต่ระวังอย่าชโลมครีมนวดบริเวณหนังศีรษะโดยตรง เพราะจะยิ่งเพิ่มความมันให้กับหนังศีรษะ จนเกิดการอุดตันของรูขุมขน ซึ่งเป็นสาเหตุอีกข้อหนึ่งทำให้เกิดอาการผมร่วงได้
- เรื่องง่าย ๆ ใกล้ตัวอย่างเช่นการหวีผม ก็สามารถส่งผลต่อความทนทานแข็งแรงของเส้นผมได้เช่นกัน ขอแนะนำให้หวีผมอย่างเบามือ เพราะยิ่งหวีแรง ยิ่งเพิ่มโอกาสที่ผมจะขาดหลุดร่วง และการหวีผมบ่อย ๆ ยังเป็นการกระตุ้นให้ต่อมไขมันในชั้นหนังศีรษะ ผลิตน้ำมันออกมาเกินความจำเป็น ส่งผลให้ผมยิ่งร่วงมากขึ้นได้ นั่นจึงเป็นสาเหตุที่เราไม่ควรหวีผม สัมผัสเส้นผม หรือรบกวนหนังศีรษะระหว่างวันบ่อยจนเกินไปนั่นเอง
เราอาจจะเห็นคุณแม่มือใหม่หลายคนเตรียมตัวด้วยการตัดผมสั้น เพราะดูแลง่าย โอกาสหลุดร่วงน้อย และช่วยให้ไม่ต้องมัดผมบ่อย ๆ เพราะการมัดผมเท่ากับเป็นการดึงผมให้ตึงขึ้น ทั้งที่โคนผมมีความอ่อนแออยู่แล้ว จึงอาจหลุดร่วงได้ง่ายกว่าเดิมอีก
- หลีกเลี่ยงการใช้ความร้อนกับเส้นผม ไม่ว่าจะเป็นการไดร์เพื่อเป่าผมให้แห้ง การหนีบผม หรือการดัดผม เพราะจะยิ่งทำให้เส้นผมบางลง ทางที่ดีควรเว้นการจัดแต่งทรงผมที่ต้องใช้ความร้อนสูงไปสักระยะ
- อาหารก็เป็นอีกหนึ่งหัวใจสำคัญของการบำรุงผมเช่นเดียวกัน โดยหลักการง่าย ๆ คือการรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะอาหารที่อุดมไปด้วยสังกะสี ธาตุเหล็ก ไอโอดีน ไบโอติน หรือโอเมก้า 3 เป็นต้น
- พักผ่อนให้เพียงพอ และหาเวลาในการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
Premium Hair Booster ...นวัตกรรมลดผมร่วงจากนามนิน
และถ้าคุณแม่ท่านไหนกำลังมองหา Treatment บำรุงผมชั้นลึก เพื่อผมสุขภาพดีจากภายใน นามนินขอแนะนำ นวัตกรรม Premium Hair Booster ที่พัฒนาขึ้นโดยคุณหมอนิน - แพทย์หญิงดิลกณิกนันต์ นามทองต้น แพทย์ผู้ชำนาญด้านเส้นผม เพื่อคืนความหนาแน่น ดกดำ แข็งแรงให้กับเส้นผม ด้วยพลังบำรุงจาก Exosome อนุภาคไซส์จิ๋วระดับนาโนซึ่งเป็นสารชีวโมเลกุลที่แยกออกมาจากสเต็มเซลล์ หรือเซลล์ต้นกำเนิด โดยมีขนาดของอนุภาคเพียง 30 – 100 นาโนเมตรเท่านั้น เรียกได้ว่าเล็กกว่าเซลล์ทั่วไปถึง 1/1000 เท่า ซึ่งภายในประกอบด้วยสารชีวโมเลกุลต่าง ๆ นับพันชนิด และโปรตีนอีกหลายประเภท มากกว่าสารชีวโมเลกุลและโปรตีนที่พบใน PRP หรือเกล็ดเลือดเข้มข้นเป็นพันเท่า ทั้งยังเสริมด้วยวิตามินสูตรเฉพาะของนามนิน ในการทำงานร่วมกับ Exosome เพื่อการออกฤทธิ์ที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ที่สำคัญ นวัตกรรมนี้ยังมีความปลอดภัยสูง เพียงใช้วิธีการฉีดเข้าสู่หนังศีรษะ สารสำคัญต่าง ๆ จะตรงเข้าซ่อมแซมเซลล์ที่เสื่อมสภาพ และฟื้นฟูการสร้างเซลล์ใหม่ ได้ลึกถึงระดับการแสดงออกของยีน (Epigenetic) โดยไม่มีอาการเจ็บ ไม่ทิ้งรอยแผล ไม่มีผลข้างเคียง และไม่ต้องพักฟื้นหรือดูแลเป็นพิเศษ
Premium Hair Booster ยังให้ผลลัพธ์ที่พิสูจน์ได้ตั้งแต่ครั้งแรก ในการลดอาการผมร่วง กระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผม และช่วยให้เส้นผมที่เคยลีบบางมีขนาดใหญ่ขึ้น แข็งแรงขึ้น ทั้งยังตอบโจทย์การฟื้นฟูภาวะผมร่วงจากสาเหตุอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นกรรมพันธุ์ ภาวะทางสุขภาพ ความเครียด การขาดสารอาหาร หรือการโดนทำร้ายจากสารเคมีอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม ถ้าหากคุณแม่สังเกตว่า แม้เมื่อผ่านไปแล้ว 1 ปี ผมยังคงหลุดร่วงมากกว่า 100 เส้นต่อวัน กรณีนี้ขอแนะนำให้คุณแม่ปรึกษากับแพทย์ผู้ชำนาญด้านเส้นผม เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุอื่น ๆ นอกเหนือจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมน และวางแผนการดูแลฟื้นฟูสุขภาพผมแบบเฉพาะบุคคลร่วมกัน